เลือกภาษา

X
ส่วนที่ ๑ สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
๑. ด้านศักยภาพ
๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล (แผนที่ประกอบ)
องค์การบริหารส่วนตำบลนางัว เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งของอำเภอน้ำโสม ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอน้ำโสม และอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของจังหวัดอุดรธานี อยู่ห่างจากตัวอำเภอน้ำโสมประมาณ ๕ กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองจังหวัดอุดรธานี ประมาณ ๑๑๒ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๗๑๓ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ จดองค์การบริหารส่วนตำบลโสมเยี่ยม
ทิศใต้ จดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหยวก
ทิศตะวันออก จดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง และองค์การบริหารส่วนตำบลสามัคคี
ทิศตะวันตก จดเทศบาลตำบลนางัว และองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลบ้านหยวก
พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนางัว มีพื้นที่ทั้งหมดมีพื้นที่ประมาณ ๕๒ ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ ๓๒,๕๐๐ ไร่ ซึ่งแบ่งเป็นพื้นที่ประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
- พื้นที่ชุมชนในหมู่บ้านต่าง ๆ ได้แก่ พื้นที่ตั้งบ้านเรือน สถานที่ราชการ ศาสนสถานและสถาบันการศึกษา ซึ่งตั้งกระจัดกระจายอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลคิดเป็นพื้นที่รวมประมาณ ๔,๕๖๐ ไร่ หรือคิดเป็น ร้อยละ ๑๔.๐๓ จากจำนวนพื้นที่ทั้งหมด
พื้นที่เกษตรกรรม เป็นพื้นที่เกษตรกรประกอบอาชีพเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของครอบครัว มีจำนวน ๒๕,๓๕๖ ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๘.๐๘ จากจำนวนพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งได้แก่
- พื้นที่นา มีจำนวน ๑๐,๒๖๕ ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ ๓๑.๕๘
- พื้นที่ไม้ผล ไม้ยืนต้นได้แก่ ยางพารา มะม่วง ลำไย กะท้อน มะขาม ฝรั่ง เป็นต้น มีจำนวนประมาณ ๘,๓๗๕ ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ ๒๕.๗๗
- พื้นที่ไร่ ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย มีจำนวนประมาณ ๖,๗๑๖ ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ ๒๐.๖๖
- พื้นที่สาธารณะประโยชน์ เป็นที่ดินของรัฐ ซึ่งประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้พื้นที่ประมาณ ๙๓๔ ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ ๒.๘๗ จากจำนวนพื้นที่ทั้งหมด
- พื้นที่ป่าสงวน มีพื้นที่ประมาณ ๑,๕๐๐ ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ ๔.๖๒ จากจำนวนพื้นที่ทั้งหมด (ได้แก่พื้นที่สวนป่าภูฮวกฯ)
- พื้นที่อื่น ๆ เช่น ถนน แหล่งน้ำ ฯลฯ มีพื้นที่ประมาณ ๑๕๐ ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ ๐.๔๖ จากจำนวนพื้นที่ทั้งหมด
๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศทั่วไป เป็นลูกคลื่นลอนลาด ถึงเนินเขา บริเวณพื้นล่างของหุบเขาเป็นที่ราบลุ่ม หรือราบเรียบ มีความลาดชัน ๖ ถึงมากกว่า ๓๕% ระดับความสูง ๒๑๐ เมตร ถึง ๓๖๐ จากระดับน้ำทะเล เนินเขาสูงอยู่ตรงกลางพื้นที่สูง ๓๖๐ เมตร (ภูผาแดงและภูผาสองห้อง)
พื้นที่ป่าไม้ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่างๆ เช่น ป่าไม้เบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ตามไร่นาและพื้นที่เกษตร สภาพพื้นที่จึงเหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ ทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ปลูกไม้ผลเศรษฐกิจและปลูกป่าชุมชน พื้นที่ราบและราบลุ่ม ตามร่องน้ำ เหมาะที่จะทำนาปลูกข้าว
๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
องค์การบริหารส่วนตำบลนางัว ตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น และมีฤดูกาล ๓ ฤดู คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนสิงหาคม ในช่วงนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก จึงมีความชุ่มชื้นเพียงพอต่อพื้นที่
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง เดือนธันวาคม ในช่วงนี้อากาศจะค่อนข้างหนาวถึงหนาวมาก อุณหภูมิต่ำสุด ประมาณ ๑๐ องศาเซลเซียส
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง เดือนเมษายน ในช่วงเดือนเมษายน จะมีอุณหภูมิสูงสุด ประมาณ ๔๐ องศาเซลเซียส
๑.๔ ลักษณะของดิน
ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วน ประมาณ ๗๕% ดินลูกรังประมาณ ๑๕ % ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ ๑๐ %
๒.ด้านการเมือง/การปกครอง
๒.๑ เขตการปกครอง
จำนวนหมู่บ้าน
จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางัว มีทั้งหมด ๙ หมู่บ้าน
หมู่ที่ ๑ (บ้านนางัว) หมู่ที่ ๗ (บ้านไทยรุ่งเรือง)
หมู่ที่ ๒ (บ้านเจริญชัย) หมู่ที่ ๘ (บ้านศิริชัย)
หมู่ที่ ๓ (บ้านสันติสุข) หมู่ที่ ๙ (บ้านโนนผาแดง)
หมู่ที่ ๔ (บ้านดงต้อง) หมู่ที่ ๑๐ (บ้านดงพัฒนา)
หมู่ที่ ๕ (บ้านดงพัฒนา) หมู่ที่ ๑๑ (บ้านสันติสุข)
หมู่ที่ ๖ (บ้านเจริญสุข)
หมายเหตุ หมู่ที่ ๒, ๓ มีพื้นที่อยู่ในเขตพื้นที่การปกครองของเทศบาลตำบลนางัว
หมู่ที่ ๑, ๗, ๘, ๙, ๑๑ มีพื้นที่อยู่ในเขตพื้นที่การปกครองของเทศบาลตำบลนางัวบางส่วน
หมู่ที่ ๔, ๕, ๖, ๑๐ มีพื้นที่อยู่ในเขตพื้นที่การปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลเต็มพื้นที่
๒.๒ การเลือกตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลนางัวได้แบ่งเขตการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลออกเป็น ๑ เขตเลือกตั้ง สมาชิกสภาออกเป็น ๑ เขต ประชาชนในเขต อบต.นางัว ส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชนในเขตยังมีส่วนร่วมในการบริหารงาน การช่วยเหลืองานกิจกรรม การดำเนินงานต่าง ๆ เช่น การประชุมประชาคมในการจัดแผนพัฒนาท้องถิ่น ประชุมประชาคมแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ข้อมูลเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕62)
- จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 3,259 คน
- จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น 3,259 คน
ปัจจุบันนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกมาจากคำสั่ง คสช. และปัจจุยังไม่มีการเลือกตั้ง
๓.ประชาชร
๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร (ข้อมูลเปรียบเทียบย้อนหลัง 3-5 ปี และการคาดการณ์ในอนาคต
จำนวนประชากรมีทั้งหมด ๔,๒๖๔ คน แยกเป็น ชาย ๒,๒๐๖ คน หญิง ๒,๐๕๘ คน
ซึ่งมีรายละเอียดจำนวนประชากรแต่ละหมู่บ้านดังนี้
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนเพศชาย |
จำนวนเพศหญิง |
รวม |
๑ |
บ้านนางัว |
๖๙ |
๙๒ |
๘๓ |
๑๗๕ |
๔ |
บ้านดงต้อง |
๑๐๙ |
๒๑๓ |
๑๘๖ |
๓๙๙ |
๕ |
บ้านดงพัฒนา |
๒๓๖ |
๔๓๓ |
๔๒๙ |
๘๖๒ |
๖ |
บ้านเจริญสุข |
๒๔๙ |
๔๑๒ |
๓๗๙ |
๗๙๑ |
๗ |
บ้านไทยรุ่งเรือง |
๗๗ |
๑๖๙ |
๑๓๒ |
๓๐๑ |
๘ |
บ้านศิริชัย |
๓๓ |
๘๑ |
๕๙ |
๑๔๐ |
๙ |
บ้านโนนผาแดง |
๒๙๓ |
๔๘๙ |
๔๖๒ |
๙๕๑ |
๑๐ |
บ้านดงพัฒนา |
๑๐๙ |
๒๑๑ |
๒๑๒ |
๔๒๓ |
๑๑ |
บ้านสันติสุข |
๕๘ |
๑๐๖ |
๑๑๖ |
๒๒๒ |
รวม |
๑,๒๓๓ |
๒,๒๐๖ |
๒,๐๕๘ |
๔,๒๖๔ |
* ข้อมูล ณ วันที่ ๒๐ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๒
๓.๒ ช่วงอายุและจำนวนประชากร
หญิง |
ชาย |
หมายเหตุ |
|
จำนวนประชากรเยาวชน |
คน |
คน |
อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี |
จำนวนประชากร |
คน |
คน |
อายุ ๑๘-๖๐ ปี |
จำนวนประชากรผู้สูงอายุ |
คน |
คน |
อายุมากกว่า ๖๐ ปี |
รวม |
๒,๐๕๘ คน |
๒,๒๐๒ คน |
ทั้งสิ้น ๔,๒๕๘ คน |
๔.๑ การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๑ แห่ง
- โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๒ แห่ง
๑. โรงเรียนบ้านดงพัฒนาดงต้องประชารัฐ
๒. โรงเรียนบ้านเจริญสุข
๔.๒. สาธารณสุข
- สถานีอนามัยประจำตำบล มีจำนวน ๑ แห่ง คือ
๑.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านดงพัฒนา
๔.๓ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ศูนย์บริการประชาชน อบต.นางัว ๑ แห่ง
๔.๔ ยาเสพติด
ปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนางัว ผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานของทางราชการที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาของ อบต.นางัว ทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ อบต.นางัว ก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด
๔.๕ การสังคมสังเคราะห์
องค์การบริหารส่วนตำบลนางัว ได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้
๑. ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์
๒. รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
๓. ประสานการทำบัตรผู้พิการ
๔. ตั้งโครงการการจ้างนักเรียน/นักศึกษาทำงานช่วงปิดภาคเรียน ฅ
๕. ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง
๖. ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน
๕.การบริการพื้นฐาน
๕.๑ การคมนาคมขนส่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลนางัว มีการคมนาคมเฉพาะทางบก มีทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๒๓๔๘ ผ่านหมู่ที่ ๖, ๑๑, ๙, ๗, ๘ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางัวทำให้การสัญจรไป - มา ได้หลายหมู่บ้านและหลายตำบล โดยเฉพาะมีถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนตำบลนางัว หลายสายซึ่งเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน เช่น
- ถนนสายบ้านสันติสุขถึงบ้านน้ำปู่(ตำบลบ้านหยวก) เชื่อมต่อไปอำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู ผ่านหมู่ที่ ๙, ๕, ๔ สภาพของถนนเป็นถนนคอนกรีต และถนนดินลูกรัง
- ถนนสายบ้านเจริญสุข หมู่ที่ ๖ ถึงบ้านดงพัฒนา หมู่ที่ ๕ สภาพของถนนเป็นถนนถนนดินลูกรังตลอดสาย (ผ่านโรงโม่หินสุมิตรมิเนอรัลจำกัด)
- ถนนสายบ้านนางัว หมู่ที่ ๑ ถึงบ้านดงพัฒนา หมู่ที่ ๑๐ สภาพของถนนเป็นถนนถนนดินลูกรังตลอดสาย (ผ่านสวนป่าภูรวก)
มีถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนตำบลนางัว ซึ่งเป็นถนนภายในหมู่บ้านหลายสายแยกเป็นประเภทถนนดังต่อไปนี้
ที่ |
หมู่บ้าน |
ถนนคอนกรีต |
ถนนลาดยาง |
ถนนลูกรัง |
|||
จำนวน(สาย) |
ระยะทาง(กม.) |
จำนวน(สาย) |
ระยะทาง (กม.) |
จำนวน(สาย) |
ระยะทาง(กม.) |
||
๑ |
บ้านนางัว |
๑ |
๑.๕๕ |
- |
- |
๑๑ |
๒๐ |
๒ |
บ้านดงต้อง |
๕ |
๑.๐๕ |
- |
- |
๘ |
๑๒ |
๓ |
บ้านดงพัฒนา หมู่ที่ ๕ |
๔ |
๒.๑๖ |
๑ |
๐.๕ |
๑๒ |
๑๐ |
๔ |
บ้านเจริญสุข |
๓ |
๒.๐๕ |
๒ |
๓.๑ |
๑๓ |
๔๕ |
๕ |
บ้านไทยรุ่งเรือง |
๒ |
๐.๕๕ |
- |
- |
๑ |
๐.๒ |
๖ |
บ้านศิริชัย |
๓ |
๑.๗๗ |
- |
- |
- |
- |
๗ |
บ้านโนนผาแดง |
๗ |
๕.๐๕ |
- |
- |
๒๐ |
๕๐ |
๘ |
บ้านดงพัฒนา หมู่ที่ ๑๐ |
๓ |
๐.๑ |
๑ |
๐.๖๑๕ |
๑๒ |
๑๓ |
๙ |
บ้านสันติสุข หมู่ที่ ๑๑ |
๒ |
๑.๒ |
- |
- |
๖ |
๒.๕ |
รวม |
๓๐ |
๑๗.๑๓ |
๔ |
๔.๒๑๕ |
๘๓ |
๑๕๒.๗ |
๕.๒ การไฟฟ้า
ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลนางัว มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้านบางครัวเรือน ในบางพื้นที่ ใช้ไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ แต่บางครัวเรือนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ เนื่องจากต้องมีการขยายเขตไฟฟ้าซึ่งเป็นปัญหาที่จะต้องมีการพัฒนาต่อไป
๕.๓ การประปา
ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลนางัว ได้ให้บริการน้ำประปาเข้าถึงทุกหมู่บ้าน
๕.๔ โทรศัพท์
โทรศัพท์สาธารณะในปัจจุบันไม่มีแล้ว แต่ประชาชนเกือบทุกครัวเรือนมีโทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์ส่วนตัว (มือถือ)
๕.๕ ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
การสื่อสารของประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางัว ในส่วนของการใช้ไปรษณีย์ จะมีบุรุษไปรษณีย์ทำหน้าที่ส่ง ถ้าเขตพื้นที่ใดเป็นพื้นที่อยู่ในเขตสั่งจ่ายบุรุษไปรษณีย์จะนำส่งทุกครัวเรือน ถ้าพื้นที่ใดยังไม่อยู่ในเขตสั่งจ่ายบุรุษไปรษณีย์จะทำ หน้าที่ส่งผ่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ใหญ่บ้านจะส่งให้กับลูกบ้านของตนเอง
๖.๑ การเกษตร
อาชีพของประชากรขององค์การบริหารส่วนตำบลนางัว ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำสวนผลไม้ สวนยางพารา ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง เป็นต้น กระจายอยู่ทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม ประชาชนต้องการอาศัยธรรมชาติเป็นหลักในการประกอบอาชีพ อาศัยน้ำฝนซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการเกษตรเป็นอย่างยิ่งเพราะระบบชลประทานยังไม่ทั่วถึง มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยางพารา มะม่วง มะขาม เป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางัว
- การเกษตร พื้นที่ทางการเกษตรรวมประมาณ ๒๕,๓๕๖ ไร่ แบ่งออกได้ดังนี้
๑. พื้นที่ทำนา มีพื้นที่ประมาณ ๑๐,๒๖๕ ไร่
๒. พื้นที่ไม้ผล - ไม้ยืนต้น ซึ่งได้แก่ มะพร้าว ยางพารา มะม่วง มะขาม เป็นต้น ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ ๘,๓๗๕ ไร่
๓. พื้นที่พืชไร่ ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าวโพด มีพื้นที่ประมาณ ๖,๗๑๖ ไร่
๖.๒ การปศุสัตว์
การเลี้ยงสัตว์ จากสถิติการเลี้ยงสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางัว มีราษฎรนิยมเลี้ยงพันธ์ไก่พื้นบ้านกันมากซึ่งทำรายได้ให้กับครอบครัวได้ดี อันดับรองลงมาคือ การเลี้ยงวัว
๖.๓ การบริการ/อุตสาหกรรม/การพาณิชย์
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางัว
- ปั๊มน้ำมัน ขนาดใหญ่ จำนวน ๒ แห่ง
- ปั๊มน้ำมันหลอด จำนวน ๘ แห่ง
- โรงสีข้าว จำนวน ๒ แห่ง
- ร้านค้าเบ็ดเตล็ด จำนวน ๕๐ แห่ง
- ร้านซ่อมยานยนต์ จำนวน ๔ แห่ง
๗.ศาสนา ประเพณี
๗.๑ การนับถือศาสนา
ประชากรส่วนใหญ่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางัวนับถือศาสนาพุทธ มีศาสนสถานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางัว ดังนี้
ประเภท |
จำนวน |
ชื่อ |
สถานที่ตั้ง |
๑.วัด ๒. สำนักสงฆ์ (ยังไม่ได้รับประกาศจัดตั้งเป็นวัด) |
๕ แห่ง ๕ แห่ง |
๑.วัดบ้านดงต้อง ๒.วัดชาปิยะราช ๓.วัดจิตรประชาสามัคคี ๔.วัดป่าศิริเจริญชัย ๕.วัดบ้านโนนผาแดง ๑.ที่พักสงฆ์ซำยาง ๒.วัดป่าบ้านเจริญสุข(ผาทม) ๓.วัดผาสองห้อง ๔.ที่พักสงฆ์ดงแหน่ง ๕.ที่พักสงฆ์ภูกุ้มข้าว |
หมู่ที่ ๔ หมู่ที่ ๕ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๘ หมู่ที่ ๙ หมู่ที่ ๑ หมู่ที่ ๖ หมู่ที่ ๙ หมู่ที่ ๑๐ หมู่ที่ ๑๑ |
๗.๒ ประเพณีและงานประจำปี
ชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางัวมีประเพณีต่างๆในแต่ละช่วงเวลา ได้แก่ บุญเดือนสาม วานสารท บุญมหาชาติ บุญบั้งไฟ บุญข้าวจี่
๗.๓ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
๗.๔ สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
๘.ทรัพยากรธรรมชาติ
๘.๑ แหล่งน้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางัวมีห้วย,คลองดังต่อไปนี้
- หนองซำสู้ หมู่ที่ ๕ - ลำห้วยผาแดง หมู่ที่ ๖, ๑๑
- ลำห้วยน้ำปู่ หมู่ที่ ๔ - ลำห้วยญวน หมู่ที่ ๙, ๗, ๘, ๑
- หนองซำสู้ หมู่ที่ ๕ - ห้วยฮวก หมู่ที่ ๔
แหล่งน้ำสร้างขึ้นใหม่
- ฝายน้ำล้น หมู่ที่ ๑๑ จำนวน ๒ แห่ง
- ฝายน้ำล้น หมู่ที่ ๗ จำนวน ๑ แห่ง
๘.๒ ลักษณะป่าไม้
ลักษณะของไม้และป่าไม้เป็นลักษณธของป่าไม้เต็ง ไม่รัง ไม้ยางนา ไม้เบญพรรณ
๘.๓ ภูเขา
องค์การบริหารส่วนตำบลนางัวมีภูเขา จำนวน ๔ ลูก
เว็บไซต์ www.udnangualocal.go.th มีการใช้งานเทคโนโลยีคุกกี้หรือเทคโนโลยีอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันกับคุกกี้ บนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษานโยบายการใช้คุกกี้และนโยบายความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ก่อนใช้บริการเว็บไซต์ ได้ที่ลิงค์ด้านข้าง...
ที่อยู่ 163 หมู่ 6 ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนางัว (Na Ngua Administrative Organization) อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี 41210 |
|||
Email : saraban-udnangualocal@lgo.mail.go.th โทรศัพท์ : 042-287172 โทรสาร : 042-287172 |
|||
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 Copyright © 2020. www.udnangualocal.go.th All Rights Reserved. |
Email : jewelryitem7749@gmail.com โทร.080-0071702(เบอร์ผู้ดูแลเว็บไซต์),(คุณโจ)